วันอาทิตย์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่  14 


บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วันศุกร์ที่ 21 พฤศจิกายน  .. 2557  
เวลาเรียน 13.10  -  16.40  น.

 วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษานำสื่อวิทยาศาสตร์ของแต่ละคนออกมาส่งโดยจะแยกประเภทออกตามกลุ่ม

ประเภทพลังงาน




ประเภทเสียง




ประเภทน้ำ





ประเภทลม




ประเภทแรงโน้มถ่วง


วันอาทิตย์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่  13

บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วันศุกร์ที่ 14  พฤศจิกายน  .. 2557  
เวลาเรียน 13.10  -  16.40  น.




  วันนีเพื่อนออกมานำเสนอแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้



กลุ่มที่1 ประเภทของแปรงสีฟัน



             ขั้นนำ   ครูพาเด็กร้องเพลงสวัสดี

เพลงสวัสดีเธอจ๋า

                                            สวัสดีเธอจ๋าสวัสดี                 ชื่นชีวียิ้มแย้มแจ่มใส
                                       มาพบกับวันนีแสนดีใจ                รื่นเริงไปร้องรำให้สำราญ
                                      ลั่น ลัล ลา ลั่น ลา ลัล ลา  (ซำ้)


          ขั้นสอน  ครูพาเด็กท่องคำคล้องจองแปรงสีฟัน

คำคล้องจองแปรงสีฟัน

                                                                แปรงสีฟันมีหลายชนิด

                                                                 แต่ละชนิดมีดีต่างกัน

                                                                  แปรงสีฟันไฟฟ้านั้น

                                                               รวดเร็วพลันใช้ได้อย่างดี

                                                                 แปรงสีฟันผู้ใหญ่ก็มี

                                                              สะอาดดีเมื่อเราแปรงฟัน


          ขั้นสรุป  ครูและเด็กร่วมกันสรุปประเภทของแปรงสีฟัน





กลุ่มที่2 หน่วยผีเสื้อ (Butterfly unit)


เรื่อง  ลักษณะของผีเสื้อ


ขั้นนำ  ครูพาเด็กร้องเพลงสวัสดี

เพลงสวัสดี

สวัสดีแบบไทย ไทยแล้วก็ไปแบบสากล
สวัสดีทุกๆแบบสากลแล้วก็ไปแบบไทย

ขั้นสอน    ครูมีรูปภาพผีเสื้อแต่ละประเภทมาให้เด็กดู และพูดคุยกับเด็กเรื่องของลักษณะของผีเสื้อ พร้อมทั้งบันทึกลงในกราฟฟิค




ขั้นสรุป  ครูและเด็กร่วมกันอ่านลักษณะของผีเสื้อแต่ละชนิดร่วมกัน





กลุ่มที่ 3  หน่วยกล้วย (Bananas unit)

เรื่อง  ชนิดของกล้วย





                             ขั้นนำ  ครูพาเด็กร้องเพลง

เพลงสวัสดีเธอจ๋า

                                            สวัสดีเธอจ๋าสวัสดี                 ชื่นชีวียิ้มแย้มแจ่มใส
                                       มาพบกับวันนีแสนดีใจ                รื่นเริงไปร้องรำให้สำราญ
                                      ลั่น ลัล ลา ลั่น ลา ลัล ลา  (ซำ้)


                               ขั้นสอน  ครูพาเด็กร้อง

เพลงกล้วย

กล้วย คือ ผลไม้ใคร ใครก็ชอบกินกล้วย

ค้างคาว ช้าง ลิง ฉันด้วย

กินกล้วยมีวิตตามิน

ลั่น ลัล ลา ลั่น ลา ลัล ลา  (ซำ้)

ขั้นสรุป  ครูและเด็กร่วมกันสรุปชนิดของกล้วย





กิจกรรม COOKING


             ทำ ""ทาโกยากิไข่ข้าว""  โดยอาจารย์เป็นผู้เตรียมวัสดุและอุปกรณ์การทำมาให้ อาจารย์บอกขั้นตอนและวิธีการทำทาโกยากิไข่ข้าว และหลังจากนั้น อาจารย์ให้จัดโต๊ะเป็น 4 ด้าน และเเบ่งเด็กออกเป็นกลุ่มละ 5 คน ให้วนกันทำโดยการเติมส่วนประกอบเครื่องของตนเอง



อาจารย์บอกขั้นตอนและวิธีการทำทาโกยากิไข่ข้าว



อุปกรณ์ในการทำทาโกยากิไข่ข้าว



บรรยากาศในการทำทาโกยากิไข่ข้าว



เพื่อนนำเสนองานวิจัย  (Research Presentation)


เรื่องที่1    การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็ฏปฐมวัยโดยใช้การเรียนการสอนแบบจิตปัญญา    



       การวิจัยครั้งนี้ เป็นการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย โดยได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน และเป็นแนวทางในการใช้วิธีการสอน และการจัดกิจกรรมให้ดู และผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัยนำไปพัฒนาทักษะด้านอื่นๆให้แก่เด็ก ต้องเป็นการส่งเสริมพัฒนาการ และศักยภาพของเด็กปฐมวัยต่อไป



เรื่องที่2  ผลจากการจัดประสบการณืนอกห้องเรียนที่มีผลต่อการเรียนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย



        วิจัยครั้งนี้เป็นแนวทางในการพัฒนาความรู้ความสามารถของเด็กปฐมวัย ในการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ซึ่งเป็นการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาความสามารถ ในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย โดยได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน และเป็นแนวทางในการใช้วิธีการสอน และการจัดกิจกรรมให้ดู ซึ่งผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัยนำไปพัฒนาในด้านอื่นๆให้แก่เด็ก ต้องเป็นการส่งเสริมพัฒนาการและศักยภาพของเด็กปฐมวัย



เรื่องที่3   ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นยอกห้องเรียน


    วิจัยครั้งนี้เป็นการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย โดยได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน เป็นการสังเกตและเปรียบเทียบการจัดกิจกรรมสำหรับเด็กปฐมวัย


ประเมินผล (Evaluation)

ประเมินตนเอง : จากการเรียนและการทำกิจกรรมในวันนี้มีความสุขมาก เนื้อหาสาระที่เรียนไม่มาจนเกินไปซึ่งอาจารย์ก็เป็นเทคนิค ในการถามคำถาม และตอบคำถาม ทำให้เข้าใจในเนื้อหาที่เรียนได้ดีและยังจำได้นาน เพราะเนื้อหาที่เราตอบเป็นการคิดและการจำด้วยตนเอง และนอกจากเนื้อหาที่เรียนไปในวันนี้แล้วอาจารย์ยังมีการสอนทำอาหาร คือ ทาโกยากิไข่ข้าว ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ดิฉันเคยทำ รู้สึกประทับใจและสนุกสนานมาก เป็นการลงมือทำอาหารด้วยตนเอง วิธีการทำก็ไม่ซับซ้อนเข้าใจง่ายชัดเจน และสามารถนำไปสอนเด็กในอาคตได้เป็นอย่างดี




ประเมินเพื่อน : เพื่อนในห้องเรียนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมอย่างเต็มที่ ให้ความร่วมมือในการตอบคำถาม และเเสดงความคิดเห็นในเรื่องต่างที่อาจารย์ถาม ทำให้การเรียนในห้องเรียนไม่น่าเบื่อ มีความสุขและสนุกสนาน การทำอาหารเพื่อนก็ช่วยและแบ่งปันวัสถุดิบซึ่งกันและกัน ทำให้กันทำอาหารเป็นการแบ่งปันกัน


                           

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์มีเทคนิคต่างๆในการสอนที่เป็นต้นแบบให้นักศึกษาได้เป็นอย่างดี ทั้งเทคนิคการตั้งคำถาม การตอบคำถามต่างๆให้เข้าใจง่ายและกะทันรัด ส่วนการทำอาหาร อาจารย์ก็มีการสอนขั้นตอนในการทำที่เข้าใจง่ายไม่ซับซ้อนทุกคนสามารถทำเองได้ที่บ้าน และนอกจากนี้อาจารย์ยังเตรียมวัสดุอุปกรณ์มาให้นักศึกษาทำใ้ง่ายและสะดวกต่างการเรียนรู้ ซึ่งการเรียนครั้งนี้มีความสุขมาก




บันทึกอนุทินครั้งที่  12


บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วันศุกร์ที่ 7  พฤศจิกายน .. 2557  
เวลาเรียน 13.10  -  16.40  น.


นำเสนอแผนการสอนของแต่ละกลุ่ม


Group 1 : หน่วยกบ


                                         
  ส่วนประกอบของกบ


ขั้นนำ : บอกส่วนประกอบของกบ และความแตกต่างระหว่างกบนา กับ กบบลูฟร็อก

ขั้นสอน :  1.ร้องเพลงกบ 
                2.ครูมีรูปภาพกบนา กับ กบบลูฟร็อก มาให้เด็กดูและให้เด็กบอกระหว่างความแตกต่างของกบทั้ง
          2  ชนิด จากนั้นครูเขียนตามที่เด็กบอกลงในแผ่นชาร์ต

ขั้นสรุป : ครูและเด็กช่วยกันอ่านความแตกต่างของกบ 2 ชนิด ร่วมกัน



Group 2 : หน่วยกะหล่ำปลี


ประโยชน์ และ ข้อควรระวัง


ขั้นนำ : นำเข้าสู่บทเรียนโดยการปรบมือ เพื่อให้เด็กมีสมาธิและมีความพร้อมที่จะเรียนรู้

ขั้นสอน : ร้องเพลงกะหล่ำปลี และ เล่านิทานเรื่องคนสวนขายกะหล่ำปลี จากนั้นครูถามประโยชน์และข้อควรระวังจากกะหล่ำปลี จากเด็กๆ แต่ครูมีการพูดนำให้เด็กได้คิดก่อน

ขั้นสรุป : ครูและเด็กร่วมกันสรุปโทษของกะหล่ำปลี และเขียนลงในกระดาษหน้าชั้นเรียน พร้อมทั้งอ่านครูอ่านไปพร้อมๆกับเด็ก


Group 3 : หน่วยส้ม



ประโยชน์ของส้ม



 ขั้นนำ  :  ครูร้องพูดคำคล้องจอง เพื่อเก็บเด็ก


ขั้นสอน : ครูสอนการทำน้ำส้มคั่น โดยครูเริ่มจากแนะนำอุปกรณ์ให้เด็กรู้จักทีละอย่าง จากนั้นครูสอนวิธีการทำน้ำส้มคั่นทีละขั้นตอน 



ขั้นสรุป : ครูขออาสาสมัครเด็กที่อยากจะลองทำน้ำส้มคั่นออกมาทำหน้าห้องเรียน และให้แบ่งเพื่อนชิม




Group 4 : หน่วยดอกมะลิ



Cooking



ขั้นนำ    : ครูพูดคำคล้องจองดอกมะลิ เพื่อเก็บเด็ก

ขั้นสอน : ครูบอกอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำ ดอกมะลิทอด และบอกวิธีการทอดดอกมะลิ


ขั้นสรุป : ครูขออาสาสมัครเด็ก ที่อยากลองทำดอกมะลิทอดออกมาทำหน้าชั้นเรียน และแบ่งเพื่อนๆในห้องชิม




Group 5 : หน่วยไก่



วิธีการเลี้ยงดูไก่



ขั้นนำ : ครูพูดคำคล้องจอง และให้เด็กท่องตาม

ขั้นสอน : ครูมีภาพไก่มาให้เด็กดู ให้เด็กได้ทำความรู้จัก และถามคำถามเรื่องไก่แก่เด็กว่าไก่ กินอะไรเป็นอาหาร ไก่อาศัยอยู่ที่ใด เพื่อเป็นการให้เด็กได้ใช้สมองในการคิด และยังทำให้เด็กกล้าแสดงออก




ขั้นสรุป : ครูบอกวิธีการดูแลเลี้ยงดูไก่แก่เด็ก และให้เด็กออกมาเต้นเพลงไก่เพื่อเป็นการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ



Group 6 : หน่วยปลา


Cooking



  ขั้นนำ : ครูใช้การปรบมือ เพื่อเก็บเด็ก

ขั้นสอน : ครูสอนเด็กทำ ปลาทูทอด โดยครูจะบอกอุปกรณ์ และวิธีการทำปลาทูทอดแก่เด็กๆ




ขั้นสรุป : ครูขออาสาสมัครเด็ก 1 คน เพื่อที่จะออกมาทำปลาทูทอดกับครู และนำไปแบ่งให้เพื่อนๆชิม



สิ่งที่จะนำไปพัฒนา 
 



     ความรู้ที่ได้รับจากการเรียนในวันนี้ในเรื่องของการเขียนแผนการเรียนรู้ทั้งสัปดาห์ของเด็กปฐมวัย และการนำแผนการเรียนรู้ที่เขียนไปปฏิบัติใช้กับเด็กจริงๆ ทำให้รู้ว่าเด็กต้องการที่จะเรียนรู้แบบใด และเทคนิคต่าง ทั้งการเก็บเด็ก การนำเข้าสู่บทเรียน การสอน และการสรุปการสอนให้เเก่เด็ก สามารถนำไปใช้ในชีวิตได้เป็นอย่างดี ทั้งในตอนออกฝึกสอนประสบการณ์วิชาชีพ และในอนาคตการเป็นครู ซึ่งพื้นฐานการนำเข้าสู่บทเรียนเป็นขั้นที่สำคัญมาก เพราะถ้าขั้นนำน่าสนใจจะทำให้เด็กอยากที่จะเรียนต่อไป ก็เหมือนกับการที่เราจะเลือกดูหนังสักเรื่องนึงถ้าหนังเรื่องนั้นมีการโฆษณาที่น่าสนใจ ก็ทำให้เราอยากที่จะดูเนื้อเรื่องถัดไป เด็กก็เหมือนกันถ้าครูมีการนำเข้าสู่บทเรียนที่น่าสนใจก็จะทำให้เด็กตั้งใจเรียนมากขึ้น ส่วนขั้นสอน ในส่วนนี้ถ้าครูมีเนื้อหาและวิธีีการสอนที่น่าสนในก็จะทำให้เด็กตั้งใจเรียน เช่น ครูมีการนำสื่อที่เป็นของจริงมาให้เด็กได้ดูได้สัมผัส เด็กก็จะตื่นเต้นและสนใจที่จะเรียน ส่วนขั้นสรุปการสอน ขั้นนี้ครูสามารถสรุปไปพร้อมๆกับเด็ฏได้ โดยการที่ดูให้เด็กออกมาพูดหน้าชั้นเรียน หรืออกมาวาดภาพเรื่องที่เรียนไปก็ได้ ซึ่งเทคนิคต่างๆที่อาจารย์สอนในวันสามารถนำไปพัฒนาและประยุกต์ใช้ในอนาคตได้เป็ฯอย่างดี



การประเมินผล



ตนเอง วันนี้ตั้งใจในการนำเสนอแผนงานอย่างเต็มที่ มีการนำสื่อต่างๆที่ใช้ในแผนการเรียนมาใช้ประกอบในการสอน นำแผนที่อาจารย์ให้แก้ไขกลับไปแก้ไขให้เรียบร้อย บรรยากาศในห้องเรียนดูสนุกสนานมากเพราะเพื่อนๆทุกคนได้ร่วมในกิจกรรมที่เพื่อนทุกกลุ่มออกมานำเสนอ ทั้งในเรื่องของการเต้น หรือการทำ Cooking เพื่อนๆทุกคนสนใจ ช่วยกันทำอย่างเต็มที่ ในห้องเรียนเลยดูมีความสุขและสนุกสนานไ ไม่ตึงเครียดและไม่กดดันจนเกินไป 

เพื่อน เพื่อนๆทุกคนตั้งใจฟังเพื่อนๆทุกกลุ่มนำเสนองาน และให้ความร่วมมือเมื่อเพื่อนขออาสาสมัครตัวแทนออกไปทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อนๆทุกคนไม่เกลี้ยงกันออก แต่ทุกคนออกด้วยความเต็มใจและอยากที่จะออกจริงๆ บรรยากาศการในห้องเรียนเลยเป็นแบบที่ทุกคนช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีความสุขไปกับการเรียน

อาจารย์ : อาจารย์มีเทคนิคและข้อเสนอแนะต่างๆที่ดีมากให้กับทุกกลุ่ม ซึ่งข้อเสนอแนะต่างๆสามารถนำไปปรับปรุงและประยุกต์ในกับการเขียนแผนการสอนทุกวิชา ไม่ใช่แต่วิชาวิทยาศาสตร์อย่างเดียว นอกอาจารย์นี้อาจารย์ยังบอกวิธีการสอนเด็กให้น่าสอนใจ การนำเข้าสู่บทเรียนในแต่ละวัน การสอนเนื้อหา การทำCooking ตอนจนบุคลิกในการสอนของครู ซึ่งวิธีการทุกอย่างจำเป็นและสำคัญมาที่ครูต้องรู้และต้องปฏิบัติให้ได้ อาจารย์ทุ่มเทและเป็นห่วงนักศึกษาทุกคนมากจริงๆ